ลูกเนียงพระเครื่อง รับประกันของแท้ 100% ทุกองค์
  
เหรียญรุ่นแรกเจ้าคุณม่วง ว่าด้วยพิธีและวาระการสร้าง ด้วยเหตุที่ท่านได้สร้างคุณประโยชน์ ต่อการพระศาสนา การศึกษาและสังคมไว้อย่างมากมายในปักษ์ใต้ รวมทั้งเป็นพระอุปัชฌาจารย์ที่ให้การอุปสมบทกุลบุตรไว้มากมาย จึงทำให้มีลูกศิษย์และผู้เลื่อมใสศรัทธาจำนวนมาก ดังนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๗๖ ซึ่งท่านมีอายุครบ ๘๐ ปี บรรดาศิษยานุศิษย์จึงพร้อมใจกันจัดงานทำบุญอายุ และสร้างล็อกเกต และเหรียญที่ระลึกเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นเหรียญเพียงรุ่นเดียวที่สร้างในสมัยที่ท่านเจ้าคุณม่วงยังมี ชีวิตอยู่ เหรียญเจ้าคุณม่วง นี้นับเป็นเหรียญนิยมยุคเก่าเหรียญหนึ่งของ จ.นครศรีธรรมราช สำหรับเหรียญนี้เป็นเหรียญที่ปลุกเสกโดยโดยบรรดาพระเกจิอาจารย์ในพื้นที่ จ. นครศรีธรรมราชในยุคนั้นหลายท่าน...ด้วยเหตุที่ท่านเจ้าคุณม่วงเป็นพระเถระราชาคณะ เป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราชและปัตตานี มีคุณูปการต่อคณะสงฆ์ในพื้นที่อย่างมาก ดังบทความในตอนที่ ๖, ๗ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างท่านกับบรรดาพระเกจิอาจรย์ในพื้นที่เป็นอย่างดี และด้วยอาวุโสของท่านในวาระพิเศษในการทำบุญอายุ ๘๐ ปี จึงมีพระเถระในพื้นที่ได้รับนิมนต์มาร่วมงานแสดงมุทิตาจิตอันเป็นธรรมเนียมที่มีต่อพระเถระผู้สูงทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิ และการเดินทางไปมาภายในจังหวัดในยุคนั้นก็ไม่ได้ลำบากยากเย็นเหมือนไป กทม. พระจากต่างอำเภอสามารถเดินทางเข้าสู่ อ.เมืองได้ภายใน ๑-๒ วัน และเส้นทางรถไฟจากชุมพร-นครศรีธรรมราช ได้ก่อสร้างในช่วง พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๕๘ พระและปชช.ในโซนพื้นที่ อ.ฉวาง อ.ทุ่งสง อ.ร่อนพิบูลย์ สามารถเดินทางได้โดยรถไฟในปีพ.ศ.๒๔๗๖ ได้สะดวกแล้ว เช่น พ่อท่านซัง วัดวัวหลุง อ.ร่อนพิบูลย์ + ลพ.ปลอด วัดนาเขลียง อ.ฉวาง ก็เดินทางโดยใช้เส้นทางรถไฟเพื่อไปร่วมงานบุญท่านเจ้าคุณม่วง ที่วัดท่าโพธิ์ อ.เมือง นครศรีฯ เป็นต้น ส่วนเส้นทางอ.ท่าศาลา อ.สิชล อ.ก็ใช้เส้นทางถนน หรือทางเรือออกทะเล เข้าสู่ อ.เมืองโดยเข้าทางคลองหน้าวัดท่าโพธิ์ได้   รายชื่อพระเกจิยุคนั้นที่ร่วมปลุกเสกเหรียญท่านเจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์ฯ รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๗๖ (เหรียญคาราบาว)   ๑.พ่อท่านซัง พระครูอรรถธรรมรส วัดวัวหลุง อ.ร่อนพิบูลย์ ช่วงอายุ พ.ศ.๒๓๙๔-๒๔๗๘ พ่อท่านซังได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าคุณม่วงให้เป็นเจ้าคณะแขวง อ.ร่อนพิบูลย์ และมีความสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณม่วงเป็นอันมากดังในประวัติพ่อท่านซังได้กล่าวไว้เป็นข้อความดังนี้ว่า “พ.ศ.๒๔๔๑ พ่อท่านซังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงให้ปกครองวัด ๑๓วัด ท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างดียิ่งไม่ว่าภาระหน้าที่นั้นจะยากลำบากเพียงใด สมัยก่อนไม่มีถนนไม่มีรถวิ่ง ต้องเดินรัดป่าตัดทุ่งนาป่าเขาไปสงเคราะห์ผู้ทุกข์ยาก กาลเวลาสืบต่อมาเมื่อ พระศรีธรรมมุณี (พระรัตนธัชมุณี) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์ นครศรีธรรมราช ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะมณฆลนครศรีธรรมราช เห็นว่าพ่อท่านซัง วัดวัวหลุง เป็นผู้มีความสามารถในการบริหารหมู่คณะสงฆ์ดี ปฏิบัติน่าเลื่อมใส จึงให้ประทานตราตั้งเป็นพระครู เจ้าคณะแขวงเมื่อ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๔๔๕ ให้เป็นผู้ปกครองวัด ในอำเภอร่อนพิบูลย์ทั่วทุกวัด จนลุถึง พ.ศ. ๒๔๖๗ ได้รับพระราชทานสมณศักด์เป็น “พระครูอรรถธรรมรส” บริหารคณะสงฆ์สืบต่อมาจนเจริญรุ่งเรื่องถึงขีดสุด” เหรียญรุ่นแรกของพ่อท่านซังเป็นเหรียญในงานศพของท่าน เป็นเหรียญตายคือท่านไม่ได้ปลุกเสก ยังมีประสบการณ์และราคาสูงมาก แล้วพ่อท่านซังเป็นผู้ร่วมปลุกเสกเหรียญท่านเจ้าคุณม่วงในปี ๒๔๗๖ นับว่าเป็นเหรียญที่ทรงคุณค่ามาก   ๒.พระครูแก้ว (แก้ว อินฺทสุวณฺโณ) วัดปทุมยการาม อ.สิชล ช่วงอายุ พ.ศ.๒๔๐๐ – ๒๔๘๐ พระครูแก้วได้รับแต่งตั้งจากท่านเจ้าคุณม่วงให้เป็นเจ้าคณะแขวง อ.สิชล ในปี ๒๔๔๙ และมีความสนิทสนมกับท่านเจ้าคุณม่วงเป็นอันมาก ท่านถือเป็นพระบรมครูแห่ง สิชล ขนอม เหรียญรุ่นแรกของท่าน พ.ศ.๒๔๗๗ ถือเป็น ๑ใน๕เหรียญเบญจภาคีของเมืองนคร   ๓.พระครูวิสุทธิจารี (พุ่ม อินฺทสโร) วัดจันพอ อ.ท่าศาลา ช่วงอายุ พ.ศ.๒๔๐๒ – ๒๔๘๘ สำหรับ ลพ.พุ่มเฒ่านี้มีความสัมพันธ์อันดีกับท่านเจ้าคุณม่วง ด้วยท่านเจ้าคุณเป็นพระอนุสาวนาจารย์หรือพระคู่สวดในครั้งบวชลพ.พุ่ม และท่านก็เป็นศิษย์พระครูกาชาด (ย่อง) วัดวังตะวันตกอีกด้วย เหรียญรุ่นแรกของลพ.พุ่ม พ.ศ.๒๔๘๕ เหรียญที่บรรดานักเลงพระได้กล่าวขวัญถึงประสบการณ์ความเหนียว สุดๆตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง   ๔.พ่อท่านเอียดดำ (อริยวํโส) วัดในเขียว อ.พรหมคีรี ท่านเป็นที่นับถือของศิษยานุศิษย์และบุคคลทั่วไป ท่านเป็นพระรุ่นน้องของ ลพ. พุ่มเฒ่า วัดจันพอ ด้วยเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์ในสำนักพระครูกาชาด (ย่อง) เหรียญรุ่นแรกของท่าน พ.ศ. ๒๔๘๐ เป็นหนึ่งในเหรียญเบญจภาคีของเมืองนคร เหรียญอาจารย์เอียดดำ เป็นที่ต้องการของใครหลายๆคน พุทธคุณในด้านแคล้วคลาดคงกระพันสุดยอด มรณภาพปี พ.ศ.๒๔๙๕   ๕.พ่อท่านปลอด วัดนาเขลียง อ.ฉวาง ช่วงอายุ พ.ศ.๒๔๑๐-๒๔๘๒ ท่านเป็นพระเกจิเรืองวิชา เหรียญพระอุปัชฌาย์ปลอด ติสสาโร วัดนาเขลียง ปี๒๔๘๒ เป็นหนึ่งในเบญจภาคีเหรียญเมืองนครศรีธรรมราชที่ได้รับความนิยมสูง   ๖.พระครูกาชาด (แก้ว ญานวโร) วัดใหญ่ชัยมงคล อ.เมือง ต่อมาเป็นพระสุธรรมวุฒาจารย์ ช่วงอายุ พ.ศ. ๒๔๑๙ – ๒๕๐๑ ท่านเป็นพระที่อยู่ภายใต้การปกครองของท่านเจ้าคุณม่วง และวัดใหญ่ชัยมงคลก็อยู่ใกล้กันกับวัดท่าโพธิ์ จึงไปมาหาสู่ปรนนิบัติรับใช้และเรียนวิชากับท่านเจ้าม่วงอยู่เสมอ เหรียญรุ่นแรกของท่าน พ.ศ.๒๔๘๒ เป็นเหรียญมีประสบการณ์สูงและหายากเหรียญหนึ่งของเมืองนคร   ๗.พระครูกาแก้ว (หมุ่น อิสฺสโร) วัดหน้าพระธาตุ อ.เมือง ช่วงอายุ พ.ศ.๒๔๒๕ – ๒๔๙๘ ต่อมาเป็นพระศิริธรรมมุนี ตามประวัติของท่านได้กล่าวว่า บิดามารดาของท่านได้นำไปถวายเป็นศิษย์พระเดชพระคุณพระรัตนธัชมุนี วัดท่าโพธิ์ เมื่อยังเป็น พระมหาม่วง รตฺนธโช เล่าเรียนหนังสือไทยได้ชั้น ๔ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ จึงนับได้ว่าพระครูกาแก้ว (หมุ่น) เป็นศิษย์ก้นกุฏิของท่านเจ้าคุณม่วงโดยแท้ ท่านเป็นสหธรรมิก กับพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน และ ลพ.นาค วัดดินดอน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ท่านได้สร้างพระผงชันโรงเพื่อแจกทหารและประชาชนอันโด่งดัง   ๘.พ่อท่านรอด วัดสุขุม อ.ปากพนัง เป็นพระเกจิเรืองนามของ อ.ปากพนัง และเนื่องด้วยบ้านเกิดของท่านเจ้าคุณม่วง เกิดที่ชุมชนบ้านเพิง อ.ปากพนัง ไม่ไกลกันกับวัดสุขุม โดยมีความสัมพันธ์ในฐานะพระในปกครองและเป็นพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบที่อยู่พื้นที่บ้านเกิดของท่าน