ลูกเนียงพระเครื่อง รับประกันของแท้ 100% ทุกองค์
  
พระเกจิอาจารย์ในถิ้นแถบด้ามขวานทอง วัดควนเถียะ หรือชื่อในปัจจุบันคือ วัดสุขาสิทธาราม’ หลายคนเห็นคำว่า ‘สุขา’ ไงหวนนึกถึงแต่ห้องน้ำไปได้ ความจริงคำว่า ‘สุขา’ หมายถึง ความสุขวัดควนเถียะ ตั้งอยู่ที่ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีอดีตเจ้าอาวาสวัดนาม ‘พระอุปัชฌาย์สุข’ หรือที่ชาวบ้านต่างเรียกขานท่านว่า ‘ตาหลวงสุข’ เหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรกของท่านสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ มีประสบการณ์โชกโชนเป็นที่กล่าวขานของคนเมืองคอนปูมหลังตาหลวงสุขกล่าวว่า เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๔๐ ที่บ้านควนใส่ ตำบลเสม็ด (ปัจจุบันแยกตัวออกมาตั้งเป็นตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายหนู หนูทอง และนางนุ้ย หนูทอง ต่อมาเมื่อมีอายุได้ ๑๒ ปี บิดาได้นำไปฝากเป็นศิษย์พ่อท่านกลั่น วัดท่าเสม็ด ตำบลท่าเสม็ด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ อายุได้ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดท่าเสม็ด มีพระครูชลาการสุมล (เดช ธมฺติสโส) เจ้าอาวาสวัดควนเกย ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้วพ่อท่านเดชได้นำสามเณรสุขมายังวัดควนเกยด้วย จากนั้นได้นำไปฝากที่วัดสวนหลวง ตำบลในเมืองอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้สอบนักธรรมตรีได้ในพรรษานั้นปี พ.ศ. ๒๔๖๐ อายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดควนเกย เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีพระครูชลาการสุมล (เดช ธมฺติสโส) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ชู วัดสำนักขัน อำเภอจุฬาลงกรณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระกรรมวาจาจารย์ภายหลังอุปสมบทแล้วได้กลับมาจำพรรษาที่วัดสวนหลวง และสอบนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ หลังจากออกพรรษาแล้วตาหลวงสุขได้มาจำพรรษาที่วัดน้ำรอบ ตำบลลานสกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีความเงียบสงบเหมาะการการฝึกวิปัสสนากรรมฐานหลังออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ตาหลวงสุขได้ออกธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ยาวนานถึง ๑๕ ปี จนในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงได้มาจำพรรษากับอาจารย์แดง พิชัยยุทธ เป็นเวลา ๑ พรรษา จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๗๙ ตาหลวงสุขได้มาจำพรรษาที่วัดโคกทราง ตำบลนางหลง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช และได้ช่วยเหลือพัฒนาวัดจนมีความเจริญรุ่งเรืองแต่แล้วในปลายปี พ.ศ. ๒๔๗๙ ตาหลวงสุขได้เกิดอาพาธเป็นฝีที่บริเวณลำคอ เรียกกันว่า ‘ฝีปรอท’ รักษาหลายต่อหลายแห่งอาการก็ไม่ดีขึ้น ทำให้ท่านต้องทนทุกข์ทรมานกับความเจ็บปวดเป็นอย่างมาก จนผู้เป็นพี่สาวได้ขอให้ท่านลากสิกขาเพื่อจะได้สะดวกในการรักษา หลังจากกลับมารักษาที่บ้านได้ราว ๖-๗ เดือนอาการก็ดีขึ้นและหายในที่สุดจนเมื่อราวกลางปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทราบว่าพี่สาวที่ชื่อ ‘ปล้อง’ ได้ไปสู่ขอผู้หญิงคนหนึ่งไว้เพื่อเป็นคู่ครองของตาหลวงสุข จนได้ตัดสินใจออกจากบ้านเดินทางไปยังวัดควนปันแต หรือวัดควนปันตาราม ตำบลควนแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ไปกราบพระครูรัตนาภิรัต (แก้ว) เจ้าอาวาสวัด เพื่อขออุปสมบท โดยได้อุปสมบท ณ วัดควนปันแต เมื่อวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๐ มีพระครูรัตนาภิรัต (แก้ว) เป็นพระอุปัชฌาย์ พ่อท่านคล้อย เจ้าอาวาสวัดสุนทราวาส ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพ่อท่านกลั่น วัดควนปันแต เป็นพระอนุสาวนาจารย์หลังอุปสมบทแล้วได้ไปจำพรรษาที่วัดควนใส ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราชทันที เพราะหลังอุปสมบทวันรุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษาหลังจำพรรษาที่วัดควนใสจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดในเวลาต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ตาหลวงสุขได้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างที่บ้านควนเถียะ คือ วัดควนเถียะ หรือวัดสุขาสิทธาราม โดยตาหลวงสุขพร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร จำนวน ๑๔ รูป ได้ย้ายขากวัดควนใสมาจำพรรษาที่วัดควนเถียะเมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบลท่าเสม็ด ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ตาหลวงสุขมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ สิริอายุ ๘๒ ปี พรรษาที่ ๖๒ กล่าวสำหรับวัตถุมงคลตาหลวงสุขได้สร้างเหรียญปั๊มรูปเหมือนรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ เพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างพระประธานวัด พบเห็น ๓ บล็อก คือ
- บล็อก ด้านหลังตัว ‘อะ’ ขาด
- บล็อก ด้านหลังดาวกระจาย
- บล็อกธรรมดา
แต่ที่นิยมเล่นหากันจะเป็น ๒ บล็อกแรก อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นบล็อกไหนล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่สร้างในคราวเดียวกัน ตาหลวงสุขปลุกเสกเหมือนกันหมด                                           เหรียญพระอุปัชฌายะสุข รุ่นแรก บล็อกดาวกระจาย เหรียญนี้สภาพสวยพร้อมทองสั่งทำ